PET-CT : วินิจฉัยโรค


เครื่อง ดิจิทัลเพท-ซีที (PET-CT)

Digital PET/CT Biograph Vision เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีคุณสมบัติสามารถทำการเก็บข้อมูลแบบ dynamic whole body แบบ real time ได้ เพื่อนำมาสร้างภาพและสามารถบ่งชี้ถึงระดับเมตตาบอลิซึมของสารเภสัชรังสีออกมาเป็นค่าเชิงตัวเลข (quantitative) ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ทำให้สามารถประเมินผู้ป่วยเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเฉพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของการตรวจวินิจฉัย อีกทั้ง เครื่องดิจิทัลเพทซีทีนี้ยังสามารถสแกนด้วยความรวดเร็วและได้ภาพคมชัดสูง โดยสามารถสรุป คุณสมบัติของเครื่องที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงได้ 10 ข้อ ดังนี้
  1. Ultra-Dynamic Range ของหัวนับวัด (Detector) มีการตอบสนองที่ดีต่อรังสีความแรงสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยได้กับสารรังสีหลายชนิดมากขึ้น
  2. ขนาดคริสตัลที่ใช้ในการทำหัวนับวัดรังสีมีขนาดเล็กที่สุดในปัจจุบัน ทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงมาก สามารถสร้างภาพได้อย่างชัดเจนแม้มีรอยโรคขนาดเล็กทำให้มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  3. สามารถเก็บค่านับวัดได้ในเวลาที่รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการสแกนลงถึง 3 เท่า
  4. มีค่า Time of flight ที่สั้นที่สุดในปัจจุบัน สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียด และความชัดเจนสูง เพื่อลดการใช้รังสีกับผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีลดลง และลดระยะเวลาในการตรวจให้สั้นที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย โดยได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  5. เครื่อง PET/CT ในอดีตจะรายงานผลค่าของ SUV ซึ่งเป็นเพียงค่าการสะสมของน้ำตาล แต่ในเครื่องดิจิทัลเพทซีที สามารถวิเคราะห์การใช้น้ำตาล (Ki) ในรอยโรคนั้นๆได้ ช่วยให้แพทย์มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย วางแผนการรักษา และติดตามผลการรักษา
  6. สร้างภาพหัวใจแบบ Dual Gating Deviceless ได้ โดยใช้เพียงการจับการเต้นของหัวใจด้วย EKG
  7. มีระบบ Software ซึ่งสามารถลด Metal Artifact ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการขยายบริเวณในการเก็บภาพออกไปเพื่อครอบคลุมบริเวณรอยโรคทั้งหมด
  8. มีระบบ AI ช่วยในการระบุตำแหน่งของอวัยวะหรือรอยโรคในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพื่อทำการคำนวณได้โดยอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ
  9. บริเวณช่องรับตัวผู้ป่วย (Bore) มีความกว้างมากถึง 78 cm. และขนาดอุโมงค์ที่สั้น ทำให้ลดความอึดอัด และเพิ่มความสบายให้กับผู้ป่วยระหว่างการตรวจวินิจฉัย
  10. มีเทคนิคใหม่ในการถ่ายภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ช่วงหน้าอก และช่องท้องจากการหายใจ และหัวใจที่มีการเต้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการแก้ไขการสั่นไหวของภาพโดยไม่เพิ่มเวลาในการถ่ายภาพ ทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดโดยผู้ป่วยไม่ต้องกลั้นหายใจ



การตรวจหามะเร็งในปัจจุบัน

            การบอกระยะของมะเร็งเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องมีหลายวิธี เช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ  การตรวจทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เครื่องกำทอนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีข้อจำกัด คือไม่สามารถบอกตำแหน่งของโรคมะเร็งได้ ขณะที่การตรวจ CT และ MRI เป็นการตรวจที่บอกถึงโครงสร้างทางกายภาพและมีข้อจำกัดในการวินิจฉัยความผิดปกติของมะเร็ง จะวินิจฉัยได้เมื่อมะเร็งมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะช้ากว่าการตรวจด้วย เพท-ซีที ที่เป็นการตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ระดับเมตาบอลิสม
 

เครื่องเพท-ซีทีสามารถตรวจหามะเร็งได้อย่างไร

      ก่อนที่จะทำการตรวจด้วยเครื่องเพท-ซีที ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารเภสัชรังสี ซึ่งติดฉลากกับสารกัมมันตรังสีที่สลายตัวที่ให้รังสีโพสิตรอนเข้าทางหลอดเลือดดำและเครื่องเพท-ซีที จะเป็นตัวนับวัดรังสีแกมมาที่ออกมาจากร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับกาฉีดสารเภสัชรังสี สารเภสัชรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมอยู่ในเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ที่มีอัตราการเกิดเมตาบอลิสมสูงที่มากกว่าบริเวณอื่นๆ จะตรวจพบรังสีแกมมาในบริเวณนั้นมากกว่าบริเวณอื่นๆ ทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งได้อย่างง่ายดาย
 

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่

              การเบิกค่ารักษาพยาบาลของสิทธิข้าราชการจะครอบคลุมเฉพาะการตรวจเพท-ซีที ภายใต้ข้อบ่งชี้ทางคลินิกของกรมบัญชีกลาง ได้แก่ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด  ซึ่งในสองโรคนี้จะมีข้อบ่งชี้ในรายละเอียดสำหรับโรคอื่นๆ ขึ้นอยู่กับต้นสังกัด  ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยที่มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลคืนได้  ท่านจะต้องตรวจสอบสถานพยาบาลที่ส่งตรวจของท่านว่ารับรองสำหรับการเบิกค่าตรวจเพท-ซีทีคืนตามข้อบ่งชี้

การนัดหมายตรวจเพท-ซีที

1. โทรศัพท์เพื่อติดต่อนัดหมายการตรวจโดยตรงได้ที่ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
 โทร.  09 6091 8369 ทุกวัน เวลา 8.00-16.00 น.
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับใบนัดหมายแล้วจะทำการติดต่อท่านกลับเพื่อทำการยืนยันการนัดหมายอีกครั้ง 


ความคิดเห็น